|
|
|
ในทุกๆ
สังคม กล่าวได้ว่า
การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนา
และยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคล
อันจะนำมาซึ่งภูมิปัญญา ความเข้าใจ
และสันติสุขในสังคมในที่สุด ...
แน่นอน ... ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ 100%
แต่ลองหันมาดูสภาพการณ์ ในประเทศของเราตอนนี้ดู
แล้วจะเห็นว่า หลายทศวรรษที่ผ่านมา
เรายังคงประสบกับปัญหาสังคมต่างๆ ที่
ยากจะแก้ไขและนับวันจะยิ่งทวีความซับซ้อน
เกี่ยวเนื่องกันเป็นวงจรลูกโซ่ขนาดมโหฬารที่ถ่วงความเจริญของเรา
ต่อไปเรื่อยๆ
ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดมาจากพื้นฐานรากเหง้าทางวัฒนธรรม
และสังคมที่เป็นอยู่มานานแล้ว
ซึ่งไม่สามารถปรับตัววิวัฒนาการให้เข้ากับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคนี้ได้
และพวกเราคงไม่อาจปฏิเสธ ได้ว่า การศึกษา
มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะการศึกษาเป็นระบบหลักที่ทำหน้าที่ปลูกฝังความคิด
จริยธรรม ค่านิยม
สร้างปัญญาและส่งเสริมให้เราได้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดภายในตัวตนของเราเอง
...
แต่อยากถามว่าทุกวันนี้
เราได้อะไรจากการศึกษาในเมืองไทยบ้าง???
จะเห็นว่าสิ่ง ที่เราทำอยู่ซ้ำซากจนชินชานั้น
มักจะเป็นการท่องตำราเพื่อจะสอบ
เพื่อแข่งขันให้ได้ชื่อว่า เก่ง เพื่อเอาใบปริญญามา
รับรองคุณภาพของตนเองในตลาดแรงงาน
และเราก็ถูกสอนต่อๆ กันมาแบบนี้
เราละเลยความหมายแท้จริงของการ
ศึกษาที่ควรจะเป็นการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์
ทำให้บุคคลมองเห็นและเข้าใจ ชีวิต
แต่เรากลับไปยกย่องการทำทุกอย่างให้ได้ตามที่หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนกำหนด
เราถูกสอนให้คิดหาคำตอบว่า อะไร เป็นอะไร(What)
แต่เราไม่ค่อยสนใจจะถามว่า ทำไม(Why)
นอกจากนี้ทางเลือกของ
การศึกษาของเราก็ยังจำกัดอยู่มาก
เหมือนกับว่าเป็นสูตรสำเร็จที่ทำมาให้ทุกคนใช้เหมือนๆ
กัน ซึ่งสร้างปัญหา
อย่างมากเพราะเราไม่ยอมรับความจริงที่ว่า
มนุษย์แตกต่างกันทั้งหมด
ไม่มีใครที่เหมือนกันแม้แต่คนเดียว
เราทุกคนต่างก็มีทั้งรูปร่าง หน้าตา บุคลิกภาพ
ความรู้สึก วิธีการคิด ทัศนคติ
และจิตใจของเราโดยเฉพาะ เราแต่ละคนมีความต้องการ
ความฝัน ความสามารถ พรสวรรค์เฉพาะด้านของตนเอง
เรามีเส้นทางชีวิตที่จะต้อง เดินคนละทางกัน
แต่เรากลับพยายามจะเอาระบบที่ใช้ผลิตเสื้อโหลในโรงงานอุตสาหกรรมมาใช้สร้างทรัพยากรมนุษย์
โดยกำหนดแบบพิมพ์ที่คิดกันว่าดี
หวังจะให้ทุกคนคิดและทำตาม มาตรฐาน ที่กำหนด
แล้วยังใช้การแบ่งแยก เพื่อตัดสิน ประเมิน คุณภาพ
กันแบบตื้นๆ ....
ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะเหมาะสมในบางยุคสมัยที่บ้านเมืองมีความจำเป็นต้องผลิตคน
ที่ทำงานได้ดีพอควรออกมามากๆ อย่างเร่งด่วน
แต่ในระยะยาวย่อมส่งผลให้สังคมอยู่ในสภาพล้าหลัง
และอ่อนแอ ผู้คน ขาดความคิดสร้างสรรค์
และสูญเสียความกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ได้แต่มีชีวิตอยู่ตามกระแสไปวันๆ ในที่สุด
ชาติของเราก็คงจะถูกกลืนหายไปกับกาลเวลาเช่นเดียวกับอารยธรรมอื่นๆ
จำนวนนับไม่ถ้วน ที่เคยรุ่งเรืองและล่มสลายไปในอดีต
เท่านั้นเอง ....
ถึงเวลาหรือยัง ??
ที่เราจะหันมาทบทวนหลักสูตรการศึกษาของเราเสียใหม่
.... ถึงเวลา
หรือยังที่จะเลิกยึดติดกับการพัฒนาวิชาการ
การแข่งขันชิงดีชิงเด่นที่มุ่งให้คนแสวงหาความเก่งกาจแค่เพียงเปลือกนอก
แล้วหันมาพัฒนาคน ให้มีปัญญาแบบองค์รวม
สามารถมองเห็นคุณค่าที่แท้ของตนเองและผู้อื่น สามารถ
ใช้วิจารณญาณแยกแยะความจริงและสิ่งลวงได้
หันมาฝึกให้เด็กมีความเชื่อมั่น มีเหตุผล มีความ
รับผิดชอบและวินัยในตนเองโดยไม่ต้องใช้อำนาจและกฏเกณฑ์ที่ฝืนธรรมชาติ
ขัดขวางความเจริญทางสติปัญญา วุฒิภาวะและ
จิตวิญญาณมาบีบบังคับ ควบคุมอย่างเข้มงวด ....
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะสอนให้คนพร้อมที่จะเรียนรู้
จากประสบการณ์ ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
กล้าที่จะคิดและเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ
กล้าที่จะยอมรับทุกอย่างที่แตกต่างไปจากตัวเรา ....
เมื่อ ถึงเวลานั้น ...
แผ่นดินไทยของเราจะได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่กันเสียที
... สุดท้ายนี้ ก็อยากจะขอฝากไว้ กับทุกคน
โดยเฉพาะพวกเราที่จะเติบโตขึ้นไปเป็นกำลังสำคัญ
ของประเทศชาติ ช่วยกันหันมามอง
ใส่ใจในเรื่องนี้บ้างเท่าที่ทำได้
เพื่ออนาคตของลูกหลานของเรา อย่าไปหวังลมๆ แล้งๆ ให้
รัฐบาลหรือคนอื่นๆ ช่วย คำตอบนั้นอยู่ที่ตัวเราทุกคน
หากเราทุกคนคิดว่าเราไม่จำเป็นต้องทำ
ใครจะเป็นผู้ลงมือทำเล่า?
และหากเราไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้ แล้วเมื่อไหร่กัน???
ทีมงาน StudentNet Thailand
31 กค. 2542 |
|
|
|
|
|